ถือเป็นหนึ่งในเครื่องสักการะบูชามาแต่อดีตสู่ปัจจุบัน มนุษย์เราเริ่มใช้ควันเพื่อเป็นเครื่องสื่อสารถึงเทพเจ้า เพื่อให้เทพเจ้ามีความพึงพอใจมาแต่สมัยโบราณนับพันปี และวิวัฒนาการกลายมาเป็นธูปที่เป็น “ดอกธูป” อย่างที่พบเห็นในปัจจุบัน ชาวจีนในอดีตทำธูปจากไม้เนื้อหอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) อบเชย (Cinnamon bark) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบ ธูปสูตรโบราณเหล่านี้จะมีความหอมโดยธรรมชาติจากน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในตัวไม้ และหอมแบบธรรมชาติ และผลพวงจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมผ่านการค้าขาย ทำให้วิธีการทำธูปแพร่หลายสู่โลกภายนอกในเวลาต่อมา

ชาวญี่ปุ่นในอดีตได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีน เมื่อมีชาวจีนจำนวนหนึ่งอพยพไปตั้งรกรากในญี่ปุ่นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 793 (อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย) และได้นำวิธีการทำธูปซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันด้วย และมีการสืบสานวัฒนธรรมการทำธูปดังกล่าวมาจวบจนปัจจุบัน

ธูปไทยในอดีตผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการค้าขายและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการค้าในสมัยสุโขทัย) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอมธรรมชาติ ควันจึงธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อจมูกและตาเหมือนธูปปัจจุบัน

ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้เนื้อหอมต่างๆที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตธูปเริ่มมีราคาแพงขึ้นมาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่ในประเทศ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยจากโรงเลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากในอดีตขี้เลื่อยมีสภาพเป็นขยะอุตสาหกรรม มีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า “ธูปหอม” เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม ซึ่งเป็นที่มาของธูปที่มีจำหน่ายกันในปัจจุบัน

ธูปรักษ์โลก

เราเป็นผู้ส่งออกธูปไม้หอม (Aromatic wood) สูตรอยุธยาตอนปลาย ในรูปแบบ Aroma Incense sticks & Cone ภายใต้แบรนด์ AKALIKO (ปี 2546) ธูปชุดดังกล่าว ได้ผ่านการทดสอบควันธูปจาก SGS โดยผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน (Indoor Air Quality) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่รับรองโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ต่อมาในปี 2554 เราได้นำ “ธูปรักษ์โลก” ทดสอบควันธูปอีกครั้งภายใต้เพื่อตรวจหาสารก่อมะเร็งในควันธูป

ที่มา : https://www.facebook.com/raklokincense/posts/1251408918297143